มาทำความรู้จักกับ TYPOGRAPHY

16 กรกฎาคม 2018

Typography / Type Design


ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับกลุ่มคำพวกนี้ที่คนที่ชอบการออกแบบมักจะได้เห็นกันบ่อยๆ เรียกขานกันแทบทุกวัน จนบางครั้งก็เริ่มสับสนว่าตกลงมันต่างกันอย่างไรกันแน่ ในขณะที่บางคนกลับคิดว่ามันก็เรื่องเดียวกันไปแล้ว วันนี้ เราจะมาทบทวนกันอีกรอบว่าแต่ละอย่างมันคืออะไร 

เราจะเริ่มต้นด้วย Typography ที่เป็นหัวข้อใหญ่ คำที่คุ้นหูกันอยู่ไม่น้อย


Typography ก็คือเทคนิค และศิลปะในการประยุกต์ใช้ตัวอักษร และหลักการออกแบบต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารให้มีความชัดเจน อ่านง่าย และมีความสวยงาม น่าสนใจ โดยเทคนิคการจัดวางตัวอักษรซึ่งส่วนมากจะประกอบด้วย


Type Design หรือก็คือการสร้างชุดกลุ่มตัวอักษรแบบต่างๆ ขึ้นมา เรียกว่า Typeface ที่ถูกออกแบบขึ้นโดย Type Designer ส่วน Typographer ก็คือผู้ที่นำตัวพิมพ์มาประยุกต์ใช้ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างตัวพิมพ์ขึ้นมาเอง


Typeface vs Fonts


Typeface คือชุดของกลุ่มตัวอักษรแบบต่างๆ เช่น Helvetica, Garamond, Caslon, Franklin Gothic, Futura, Gill Sans, Gotham หรือ Avant Garde เป็นต้น

01.jpg




ส่วน Font ก็คือลักษณะ หรือน้ำหนักของกลุ่ม Typeface เช่น ตัวธรรมดา ตัวหนา ตัวบาง หรือ ตัวเอียงโดยบาง Typeface อาจมีลักษณะหลายน้ำหนัก


Helvetica Neue ถูกออกแบบให้มีหลายน้ำหนักตั้งแต่บางมาก ไปจนถึงหน้ามาก เพื่อการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ


Helvetica Neue ถูกออกแบบให้มีหลายน้ำหนักตั้งแต่บางมาก ไปจนถึงหน้ามาก เพื่อการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ

ซึ่งอาจสรุปว่า Typeface กับ Fonts แม้จะเป็นคำที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็แตกต่างกันสิ้นเชิง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็คือถ้าเราพูดถึง Helvetica เรากำลังพูดถึง Typeface ส่วน Helvetica Neue 65 Medium นั่นคือ Font นั่นเอง


Principle of Typography

เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ Typeface และการจัดวางองค์ประกอบเช่น Grid System, การสร้างความแตกต่าง และการคำนึงถึงการนำไปใช้บน Platform ต่างๆ มักจะมีโครงสร้างเป็นหลักการสำคัญๆ ดังนี้


Legibility การสร้างความชัดเจน

ที่อ้างอิงหลักความสามารถในการมองเห็น ตามข้อจำกัดทางกายภาพของดวงตา

 

Readability ความสามารถในการอ่านได้เข้าใจ

คือสามารถเข้าใจในความหมายในสิ่งที่อ่านได้ หรือสามารถอ่านได้รู้เรื่อง 

หลักการทั้ง 2 ข้อ ต้องอาศัยหลักการเลือกแบบอักษร ขนาด ความยาวของบรรทัด การเว้นบรรทัด ระยะห่างระหว่างตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษร เพื่อให้เกิด Aesthetics หรือความสวยงาม มีความน่าสนใจ น่าดึงดูดให้น่าอ่าน

จากหลักการการรับรู้ของมนุษย์ที่อธิบายว่า เราจะรับรู้ภาพได้ดีกว่าข้อความ ดังนั้นดีไซเนอร์จึงมักนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ โดยการมองว่าข้อความนั้นคือองค์ประกอบหนึ่งของการออกแบบ (Design Element) เช่นเดียวกับภาพ หรือองค์ประกอบ Graphic ต่างๆ


การสร้างความรู้สึกผ่านการจัดวางตัวอักษร

นอกจากนี้ การใช้ Typography นั้นยังสามารถสร้างบุคลิก และอารมณ์ให้กับผลงานออกได้ โดยขึ้นอยู่กับโจทย์ หรือเป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่ดีไซเนอร์ต้องการ เช่น อยากสร้างความเป็นทางการน่าเชื่อถือ สร้างความสนุกสนาน ความแปลกใหม่ฉีกจากกฎเกณฑ์ ฯลฯ

03.jpg


Campaign ครอบ 30 ปี ของสโลแกน Just Do It ด้วยข้อความที่มีพลัง ที่ส่งแรงกระเพื่อมทางการเมืองไปทั่วสหรัฐอเมริกา ดีไซเนอร์จึงเลือกใช้

Typeface แบบ Serif หรือแบบมีเชิงฐาน มีการจัดวางองค์ประกอบที่เน้นความสำคัญกับข้อความ อาทิ การวางตัวอักษรพาดลงบนหน้า ตามหลักจิตวิทยาที่ว่ายิ่งใกล้ดวงตา ก็ยิ่งทำให้ภาพดูมีพลัง งานนี้ถือเป็นการใช้ Typography ที่ดูสมศักดิ์ศรีกับประเด็นเนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร


04.jpg


งานออกแบบ Key Visual หลักของเทศกาลภาพยนตร์ Cannes Film Festival เลือกที่ใช้ Typography เรียบหรูการจัดวางแบบสมมาตร โดยมีลูกเล่นคือการขยายเลข 70 ให้ล้นออกไป เพื่อสร้างเส้นสาย และจังหวะที่น่าสนใจ โดยงานยังดูน่าเชื่อถือแต่ทันสมัย


05.jpg

Adidas Predator ที่ใช้ Typography ที่สร้างเอกลักษณ์ให้กับ Campaign นี้ ด้วยจังหวะ และน้ำเสียงที่โฉบเฉี่ยว ดุดัน



The Guardian แทบลอยด์เก่าแก่ของอังกฤษได้ Rebrand อีกครั้ง ถึงแม้ Typeface จะเป็นแบบ Serif หรือแบบมีเชิง แต่วิธีการใช้ Typography ก็ทำให้ได้งานที่ดูน่าเชื่อถือแบบสถาบันสื่อที่เก่าแก่ แต่ก็ดูเรียบเท่ น่าสนใจ

จากตัวอย่างจะพบว่า หน้าที่หลักของ Typography คือ การจัดวางตัวอักษรให้อ่านง่าย น่าสนใจ ซึ่งตัวอักษรถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของงานออกแบบ ซึ่งบางครั้งของการทำงาน ดีไซเนอร์ก็สามารถใช้ตัวอักษรในบทบาทของ Design Element แทนภาพถ่ายหรือ Graphic เพื่อสร้างเส้นสาย หรือจังหวะ ท่วงทำนองให้กับผลงานออกแบบได้เช่นกัน

นอกจากนี้ Typography ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับงานออกแบบได้หลากหลาย Platform ทั้งงานด้าน Graphic Design, UI Design และ Motion Design ได้


Graphic Design

ผลงานออกแบบ Nike ให้ความสำคัญในการใช้ Typography อยู่เสมอ โดยมี Custom Typeface มากมายที่ Nike ออกแบบขึ้นมาใหม่ เช่น United, Oslo หรือ Combat Stencil

Build ที่เชี่ยวชาญในการใช้ Typography ได้ทำให้ Campaign Track and Field 2016 ที่ใช้ Typeface มาสร้างเป็น Pattern และ Graphic Element


UI Design

งานออกแบบ Website หรือ UI Design บทบาทของ Typography เองก็เป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการแก้ปัญหาของดีไซเนอร์ โดยเฉพาะความเป็นมิตรต่อผู้ใช้ ใช้งานง่าย และรวดเร็ว

08.jpg


Motion Design

แม้แต่งานด้าน Motion Graphics เองก็มีรากฐานสำคัญมาจาก Typography โดยเฉพาะงาน Title Design ที่มีหน้าที่แสดงข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวหนังสือ ตัวอย่างเช่น ผลงาน Title Design เรื่อง Stranger Things ที่ใช้เทคนิคการครอป และขยาย Typeface ชื่อเรื่องบางส่วนเพื่อสร้างเป็น Graphic Elements ต่างๆ

ผลงานกำกับโดย Michelle Dougherty สามารถคว้ารางวัล Emmy Award

ผลงานกำกับโดย Michelle Dougherty สามารถคว้ารางวัล Emmy Award

จากข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นที่กล่าวมาทั้งหมด อาจพอทำให้เห็นว่า Typography มีบทบาทสำคัญในการออกแบบเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ Typography ยังเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์การออกแบบในสื่อ Platform ต่างๆ ซึ่งในบทความต่อไปๆ BEAR จะเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยต่างๆ เกี่ยวกับการออกแบบตัวอักษรนี้มาพูดคุยกันต่อในเชิงวิธีคิด ไล่ไปจนถึงถึงการประยุกต์ใช้หลัก Typography กับ Layout อย่างละเอียดต่อไป ฝากติดตามด้วยนะครับ


-

Contributor : Akkharaphon Dantonglang

ที่มา http://www.beartheschool.com/share-1/2018/10/10/typography-


Google+
Line

บทความที่เกี่ยวข้อง